ขั้นตอน และ รายละเอียดการ จำนอง


ขั้นตอนการพิจารณาสินเชื่อ


เอกสารประกอบการจำนอง เเละทำสัญญา เบื้องต้น
1. บัตรประชาชนตัวจริง (พร้อมสำเนา)
2. ทะเบียนบ้านตัวจริง (หากมีการเปลี่ยนแปลงเลขที่บ้าน ต้องเตรียมใบเปลี่ยนมาด้วย)
3. โฉนดตัวจริง (พร้อมสำเนา)
4. ใบทะเบียนสมรส (หรือกรณีหย่า เตรียมใบหย่า และใบแนบท้ายใบหย่าด้วย)
5. ใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนสกุล (หากมีการเปลี่ยน ชื่อ-สกุล)
6. แผนที่แสดงที่ตั้งของทรัพย์อย่างละเอียด


หลักการยื่นเอกสาร สิ่งที่เตรียม
1.โฉนด .สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน ของผู้กู้
2.ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ที่ดิน
3.รอชำละค่าภาษี จดจำนอง 1% ของค่าจดจำนอง
4.รอเจ้าหน้าที่เรียกเช็นเอกสาร บนสำนักงานที่ดินกับเอกสารการจำนองหรือสัญญาการจำนอง
   สัญญาทำที่กรมที่ดิน ถูกต้องตามกฎหมาย
5.เมื่อเสร็จธุรกรรม์จำนอง รับเงิน


อัตรา ดอกเบี้ย และ วิธีการผ่อนชำระ;

1.ดอกเบี้ยเริ่มต้น 6 % ต่อปี แต่ไม่เกิน 15 % ต่อปี
   ขึ้นอยู่กับเอกสารการประกอบการพิจารณา เเละความเสี่ยงของทรัพย์นั้นๆ 

2.การผ่อนชำระเป็นรายเดือน


การต่อสัญญา

สัญญาเป็นแบบหกเดือน และแบบปีต่อปี สามารถต่อสัญญาได้ถึง 10 ปี




สัญญาการจำนอง และนโยบาย เกี่ยวกับการชำระไม่ตรงเวลา หรือไม่ชำระ


สัญญาจำนอง
สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่
บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนอง เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ โดย
ไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง
ลักษณะของสัญญาจำนอง

1. เป็นกรณีที่ผู้จำนองนำทรัพย์สินไปตราไว้แก่ผู้รับจำนองเพื่อ
เป็นการประกันชำระหนี้ของลูกหนี้โดยผู้จำนองอาจเป็นลูกหนี้เองหรือ
เป็นบุคคลภายนอกก็ได้
2. ผู้จำนองเพียงแต่เอาทรัพย์สินไปตราไว้เป็นประกันเท่านั้น ไม่
จำต้องส่งมอบทรัพย์สินจำนองนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง
3. ผู้รับจำนองมีสิทธิ์ที่จะรับชำระหนี้จากทรัพย์ที่จำนองก่อน
เจ้าหนี้สามัญ

ทรัพย์ที่จำนองได้
1. อสังหาริมทรัพย์
2. สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษที่จดทะเบียนแล้ว
3. สังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้จดทะเบียนเฉพาะ
การ เช่น เครื่องจักรที่ได้มีการจดทะเบียนตาม พรบ. จดทะเบียน
เครื่องจักร พ.ศ. 2514 เป็นต้น

วิธีการบังคับจำนอง
1. การเอาทรัพย์สินที่จำนองออกขายทอดตลาด
2. การเอาทรัพย์สินที่จำนองหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ ถ้าผู้รับจำนอง
ต้องการที่จะบังคับจำนองตามวิธีที่ 2 นี้ จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
2.1 ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึง 5 ปี
2.2 ผู้จำนองมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า ราคา
ทรัพย์สินนั้นท่วมจำนวนเงินอันค้างชำระ
2.3 ไม่มีการจำนองไว้กับเจ้าหนี้รายอื่นอีก


ผลของการบังคับจำนอง
การบังคับจำนองนั้นไม่ว่าเอาทรัพย์จำนองหลุดและราคาทรัพย์
จำนองต่ำกว่าหนี้ที่ค้างชำระหรือเอาทรัพย์จำนองขายทอดตลาด ใช้หนี้
ได้เป็นเงินสุทธิน้อยกว่าหนี้ที่ยังขาดอยู่ ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิด
ข้อสังเกตุ ถ้ามีการตกลงกันไว้ว่า ไม่ว่าจะใช้วิธีบังคับจำนองตาม

วิธีที่ 1 (การเอาทรัพย์สินขายทอดตลาด) หรือวิธีที่ 2 (การเอาทรัพย์
จำนองหลุด)


ถ้าได้เงินไม่พอชำระหนี้ ลูกหนี้จะต้องรับผิดในส่วนที่ขาด
ข้อตกลงดังกล่าวนี้ ใช้บังคับได้


ความระงับแห่งสัญญาจำนอง
1. เมื่อหนี้ประกันระงับสิ้นไป
2. เมื่อปลดจำนองให้แก่ผู้จำนองด้วยหนังสือเป็นสำคัญ
3. เมื่อผู้จำนองหลุดพ้น เมื่อเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้จากผู้
จำนอง โดยไม่มีเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้
4. เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองตามคำสั่งศาลอันเนื่อง
มาแต่การบังคับจำนอง
5. เมื่อเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองหลุดเป็นกรรมสิทธิ์


อ้างอิง การจำนอง


มาตรา 728 เมื่อจะบังคับจำนองนั้น ผู้รับจำนองต้องมีจดหมาย
บอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่า ให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่ง
กำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น ถ้าและลูกหนี้ละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามคำ
บอกกล่าว ผู้รับจำนองจะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้ยึด
ทรัพย์สินซึ่งจำนองและให้ขายทอดตลาดก็ได้


มาตรา 729 นอกจากทางแก้ดังบัญญัติไว้ในมาตราก่อนนั้น ผู้รับ
จำนอง ยังชอบที่จะเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดได้ ภายในบังคับแห่ง
เงื่อนไข ดังจะกล่าวต่อไปนี้


1. ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึง 5 ปี
2. ผู้จำนองมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า ราคาทรัพย์สินนั้น
ท่วมจำนวนเงินอันค้างชำระ
3. ไม่มีการจำนองไว้กับเจ้าหนี้รายอื่นอีก


พื้นที่ให้บริการ
ตะวันออกเฉียงเหนือ (อิสาน)โดยเฉพาะ ขอนแก่น กาฬสินธ์ - ขอนแก่น - ชัยภูมิ - นครราชสีมา - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด - สกลนคร - อุดรธานี - หนองคาย และศรีสะเกษ- กาญจนบุรี - ราชบุรี - นครปฐม - สุพรรณบุรี - กรุงเทพฯ 


บริษัทจำนอง108 land & houe ที่ดิน บ้าน อสังหาริมทรัพย์
โทรปรึกษาฟรี 0997498979


62/10 ถ.โพธิสาร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000